วิสัยทัศน์ผู้จัดทำ

การศึกษา คือแสงสว่างเว็บนี้เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่อยู่ในห้วงการเปลี่ยนถ่ายจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะย้อนกลับไปนับหรือคิดถึงมันได้อีก ผู้เขียนจึงอยากถ่ายทอดถึงระบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมคนชนบทสู่สังคมคนสมัยใหม่ชาวบ้านปังกู


สมัครงานราชการและงานทั่วไป

แผนที่บ้านปังกู

26 กุมภาพันธ์, 2553

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



“บัดนี้ทุกคนได้ตระหนักแล้วว่า ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล อากาศ มิได้เป็นสิ่งสวยงามเท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพของเรา และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีขึ้น ก็เท่ากับเป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราเอง”


“การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้นโดยปรกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตสมบูรณ์และเมื่อมีสุขภาพดีพร้อมทั่งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นผู้สร้างมิใช่เป็นผู้ถ่วงความเจริญ”


“หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้”


“การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศของภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศทางสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้แต่ถ้าเราเข้าไปแล้วเราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไร จริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”


“พื้นที่บริเวณต้นนี้เหนือเขื่อนกักเก็บน้ำแก่งกระจาน สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่ยังดีอยู่ แต่จะถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น เพราะมีสัมปทานให้บริษัทนำไม้ออก และมีราษฎรเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้น การนำไม้ออกนั้นในทางปฏิบัติจะไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่จะยังคงรักษาสภาพพื้นที่ป่าไว้ได้ ดังนั้นในการให้สัมปทานนำไม้ออก ควรพิจารณาพื้นที่แยกเป็นบริเวณลุ่มน้ำของแต่ละลำน้ำโดยละเอียดและรอบคอบ เพื่อพิจารณาสัมปทานให้แต่ละบริเวณส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องราษฎรเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อเป็นที่ทำกินนั้น ควรดำเนินการให้เปลี่ยนจากการที่ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายพื้นที่ป่าเพื่อเป็นที่ทำกินนั้น ควรดำเนินการให้เปลี่ยนจากการที่ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายพื้นที่ป่าโดยไม่มีการควบคุม ให้เป็นการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่า ให้ราษฎรเข้าทำกินโดยมีการควบคุม คือให้พิจารณาพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำของลำห้วยต่าง ๆ เลือกบริเวณที่ค่อนข้างราบ เนื้อดินเหมาะแก่การเพาะปลูก และมีแหล่งน้ำที่จะทำการชลประทานได้ ซึ่งเหมาะที่จะเปิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกจัดสรรให้ราษฎรได้เข้าทำกิน และจัดพื้นที่ป่าติดต่อกันบริเวณเชิงเขาให้เป็นป่าใช้สอยปลูกไม้โตเร็ว เพื่อให้ราษฎรมีไม้ใช้ทำฟืนและประโยชน์อื่น ๆ ส่วนพื้นที่บนไหล่เขาขึ้นไปให้รักษาไว้เป็นป่าต้นน้ำลำธาร อบรมราษฎรที่จัดให้เข้าทำกินในพื้นที่จัดสรร ให้รักและหวงแหนป่าไม้ต้นน้ำ ให้ร่วมกันคุ้มครองรักษาไม่ให้ผู้อื่นมาทำลาย จัดให้ราษฎรในพื้นที่ดินจัดสรรรวมกันตั้งเป็นสหกรณ์ต่อไป อาจมอบหมายให้หลาย ๆ สหกรณ์ร่วมกันเป็นผู้รับสัมปทานการทำไม้ ออกของป่าบริเวณนั้นก็ได้”


“การแก้ปัญหาเรื่องราษฎรเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ป่าเป็นที่ทำกินนั้นควรดำเนินการให้เปลี่ยนจากการที่ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายป่าโดยไม่มีการควบคุมให้เป็นการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่าให้ราษฎรทำกินโดยมีการควบคุม”


พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้างต้น คือที่มาของแนวพระราชดำริในการจัดสรรที่ดินตามพระราชประสงค์ในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศรวมทั้งบริเวณตำบลดอนขุนห้วย อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี


“ในเรื่องของสภาพแวดล้อมนั้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีความเดือดร้อนต่าง ๆ มากขึ้น เช่น อาจจะน้ำท่วมหรือว่าน้ำแล้งกะทันหันนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าในเรื่องของพืชธรรมชาติ ป่าไม้ หรือดินถูกน้ำทำลายไป เพราะฉะนั้นถ้าเราศึกษาได้ดีถึงเรื่องพวกนี้ หาวิธีแก้ไข ก็จะสามารถทำให้ต่อไปเราได้รักษาสมบัติของตนเองเอาไว้ได้”

“ให้กำเมล็ดไม้แล้วหว่านออกไปมันจะขึ้นอย่างไรก็ให้มันขึ้นไปเหมือนกับแม่ไม้ต้นหนึ่งที่ล้มลงเม็ดกระจายอย่างไรก็ให้อยู่อย่างนั้น”


“ให้ทำการอนุรักษ์พื้นที่เขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานเล่าขานสืบต่อกันมา เกี่ยวกับนางพันธุรัตในวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทองซึ่งเป็นประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่ายิ่งของประเทศไว้”

พระราชดำรัส

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ที่มา : พระมหากรุณาธิคุณ กองทัพภาคที่ ๑, ๒๕๔๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น